วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การแสดงภาคใต้

การแสดงภาคใต้
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้  2  กลุ่มคือ  วัฒนธรรมไทยพุทธ  ได้แก่  การแสดงโนรา  หนังตะลุง  เพลงบอก  เพลงนา  และวัฒนธรรมไทยมุสลิม  ได้แก่  รองเง็ง  ซำแปง  มะโย่ง  (การแสดงละคร)  ลิเกฮูลู  (คล้ายลิเกภาคกลาง)  และซิละ  มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ  เช่น  กลองโนรา  กลองโพน  กลองปืด   โทน  ทับ  กรับพวง  โหม่ง  ปี่กาหลอ  ปี่ไหน  รำมะนา  ไวโอลิน  อัคคอร์เดียน  ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต  ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่  การีดยาง  ปาเตต๊ะ  เป็นต้น

โนรา   เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้            มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี   การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ    ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า   มโนห์รา
        ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา  มีความเป็นมาหลายตำนาน  เช่น ตำนานโนรา   จังหวัดตรัง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   จังหวัดสงขลา   และจังหวัดพัทลุง     มีความแตกต่างกันทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจาก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน   จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน
รองเง็ง
การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า ๑๐ เพลง แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง ๗ เพลงเท่านั้น
วิธีการแสดง การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว และลีลาการร่ายรำ ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง และความไพเราะของดนตรีประกอบกัน

ตารีกีปัส  เป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อคัดเลือกการแสดงชุดนี้ใช้แสดงในงานเปิดกีฬาเขต ครั้งที่ ๑๔ ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ
ลีลาของการแสดง อาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน
ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู   เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรี และจังหวะตบมือ มีรากฐานเดิมมาจากคำว่า ลิเก คือการอ่านทำนองเสนาะ และคำว่า ฮูลู ซึ่งหมายถึง ทิศใต้ ซึ่งเมื่อรวมความแล้ว คือ การขับกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทิศใต้ บทกลอนที่ใช้ขับเรียกว่า ปันตน หรือ ปาตง ในภาษามลายูถิ่นปัตตานี
ผู้รู้บางท่านได้กล่าวไว้ว่า ลิเกฮูลู เกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำเภอรามัน ซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่าผู้ริเริ่มนี้คือใคร ชาวปัตตานีเรียกคนในอำเภอรามันว่า คนฮูลู แต่ชาวมาเลเซียเรียกศิลปะชนิดนี้ว่า ดีเกปารัต ซึ่ง ปารัต แปลว่า เหนือ จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า ลิเกฮูลู หรือ ดีเกปารัต นี้มาจากทางทิศเหนือของประเทศมาเลเซียและอยู่ทางตอนใต้ของปัตตานี
ลักษณะการแสดง ลิเกฮูลูคณะหนึ่งๆ จะมีประมาณ ๑๐ คน เป็นชายล้วน มีต้นเสียง ๑ -๓ คน ที่เหลือจะเป็นลูกคู่ เวทีลิเกฮูลู จะยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร เปิดโล่งไม่มีม่าน ไม่มีฉาก ลูกคู่ขึ้นไปนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ส่วนผู้ร้องหรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยื่นข้างๆ วงลูกคู่ ถ้ากรณีมีการประชันกัน แต่ละคณะจะขึ้นนั่งบนเวทีด้วยกัน แต่ล้อมวงแยกกันพอสมควร การแสดงที่ผลัดกันร้องทีละรอบทั้งรุกและรับเป็นที่ครึกครื้นสบอารมณ์ของผู้ชม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น